กลยุทธ์ และ เทคนิค เทรด ทองคำ รายวัน

ฝากกดแชร์เพื่อเป็นกำลังใจให้ผมด้วยน้า

จากบทความก่อนหน้านี้ ผมได้แชร์ประสบการณ์สอบกองทุนต่างประเทศผ่าน ทำให้มีหลายเพื่อนๆ เทรดเดอร์หลายคนสนใจและทักหลังไมค์มาปรึกษาว่าผมเทรดยังไงให้สอบผ่าน? เทรดสินค้าตัวไหน? มีเทคนิคการควบคุมความเสี่ยงยังไง? จึงถือโอกาสเขียนบทความ “กลยุทธ์ และ เทคนิค เทรด ทองคำ รายวัน” ให้กับเพื่อนเทรดเดอร์ที่กำลังอยู่ในช่วงการสอบกองทุนต่างประเทศเหมือนผม รวมถึงเพื่อนเทรดเดอร์ที่กำลังออกตามหาแนวทางการเทรดของตัวเอง จะได้นำเอาเทคนิคและประสบการณ์ที่ผมสอบผ่าน ไปปรับใช้และประยุกต์ให้เข้ากับแนวทางการเทรดของตัวเองได้นะครับ

คำเตือน

เนื้อหาในเว็บไซท์นี้ไม่ใช่คำแนะนำการลงทุนหรือชักชวนลงทุน เป็นเพียงการแชร์ประสบการณ์ที่เคยอยู่ในตลาดทุนมาก่อนที่มีทั้งถูกและผิด การลงทุนมีความเสี่ยง โปรดศึกษาข้อมูล ก่อนตัดสินใจลงทุนทุกครั้ง

เกริ่นนำ

Successful trader always follow the line of least resistance – follow the trend – TREND IS YOUR FRIEND

Jesse Livermore, 1929

เหมือนกับหลายๆ บทความที่ผมเขียนเอาไว้ใน Blog นี้ ว่าตลาดมันมีอยู่ 2 ท่าคือ Trend และ Sideway ดังนั้นท่าเทรด มันจึงควรมีแค่ 2 ท่าเท่านั้น หากตลาดเป็นแบบ Trend ก็เลือกอาวุธที่จะใช้เพื่อเทรดตามแนวโน้ม และถ้าตลาดเป็น Sideway ก็หาจังหวะเข้าตามแนวรับแนวต้าน มันก็มีอยู่แค่นั้น

งั้นสิ่งที่ควรทำ ก็คือการดูโครงสร้างตลาดให้ออก ก่อนจะหยิบอาวุธที่อยู่ด้านหลังมาใช้ให้ถูกจังหวะของมัน และอย่าไปซี้ซั้วเทรด เมื่อมันยังไม่เข้าหน้าเทรดของคุณเอง … Key มันก็มีอยู่เท่านี้แหละ

ผมเคยอธิบายการหา Structure และปู Mindset เอาไว้ระดับนึงแล้ว หากคุณกลัวว่ากำลังจะพลาดเนื้อหาบางอย่างไป สามารถเข้าไปอ่านทบทวนก่อนได้ที่บทความนี้นะครับ

เอาล่ะ เมื่อคุณเข้าใจแล้ว สิ่งที่ผมจะแชร์ต่อจากนี้ เป็นเพียงอีก “หน้าเทรด (Trading Setup)” ที่ผมใช้ในการสอบกองทุนจนผ่าน โดยเน้นการใช้งานในช่วงตลาดเป็น Trend เท่านั้น เพราะช่วงนี้สินทรัพย์แทบทุกตัวเคลื่อนที่เป็นแนวโน้มกันเกือบหมด หากไปเทรดสวน Trend ก็จะมีแต่เจ็บตัวกันน่ะสิ

Daytrade : เทคนิค เทรด ทองคำ รายวัน

โจทย์ในการสอบกองทุนส่วนใหญ่ จะมีเกณฑ์บังคับหลักๆ คือ จำนวนออเดอร์ต่อวัน การปิดทำกำไรรายวัน การควบคุมความเสี่ยง ระยะเวลาในการสอบผ่านเกณฑ์

ซึ่งก็เป็นเรื่องธรรมดาแหละ เพราะในฐานะเจ้าของทุน ก็คงไม่อยากจะเอาเงินไปเสี่ยงกับคนที่ไม่รู้จัก และคุมความเสี่ยงในการเทรดไม่เป็นหรอก และเป็นเรื่องดีซะอีก ถ้าคุณสามารถเทรดแบบคุมความเสี่ยงกับเงินทุนของตัวเองได้ จริงไหม?

เอาล่ะ ในฐานะของ “เทรดเดอร์” งั้นสิ่งที่คุณควรทำเพื่อแก้ไขโจทย์ปัญหานี้ ก็คือการเทรดให้เข้ากับเงื่อนไขให้ได้ ผมเลือกการเทรดแบบตาม Trend มาแชร์เพราะเป็นวิธีที่ง่ายที่สุด เป็นการเทรดตามคนส่วนใหญ่ในตลาด คนส่วนใหญ่คิดว่าไง เราก็ตามเค้าไปทางนั้น ไม่มีอะไรซับซ้อน

และผมเลือกที่จะใช้เทคนิคนี้กับการเทรด ทองคำ เพราะเป็นช่วงนี้มีปัจจัยอยู่หลายอย่างทำให้ทองคำมีการเคลื่อนตัวเป็นแนวโน้มชัดเจน

สำหรับหน้าตาของ Trading Setup ที่ผมใช้มีดังนี้

ผมจะค่อยๆ อธิบายเป็นส่วนๆ ว่าคุณต้องทำอย่างไรบ้างเพื่อให้ได้กราฟหน้าตาเหมือนกัน

เรากำลังจัดงานสัมมนาเร็วๆ นี้

ผมกำลังจะจัดงานสัมมนา เพื่ออธิบาย Trading Setup นี้แบบละเอียด และมาร่วมฝึกปฏิบัติเพื่อให้คุณเห็นภาพการเทรดรูปแบบนี้ที่เชียงใหม่ ในวันที่ 27-28 พฤษภาคม 2565 นี้ หากคุณสนใจอยากมาร่วมงาน คลิกที่ลิงค์ด้านล่างเพื่อลงทะเบียนได้เลย

เครื่องมือที่ใช้ในการเทรด ทองคำ รายวัน

เราจะอยู่กับรูปนี้นานหน่อย เพราะผมได้อธิบายทุกอย่างเอาไว้ในรูปนี้จนหมดแล้ว และจะค่อยๆ พาคุณไปดูกันทีละส่วนว่าในรูปนี้ คุณควรจะรู้อะไรบ้าง ดังนั้นมาเริ่มกันที่เครื่องมือต่างๆ ที่ผมใช้ในรูปนี้กันก่อนเลย

กราฟแท่งเทียน

อันนี้ปกติธรรมดา ผมใช้กราฟแท่งเทียนปกติ แท่งสีเขียวแทนราคาปิดมากกว่าราคาเปิด ส่วนแท่งสีแดง แทนราคาปิดต่ำกว่าราคาเปิด บนพื้นฐานสีดำพร้อมเส้นกริดสีเทาเข้ม

Moving Average ทั้ง 2 เส้น

ปกติถ้าเป็นกลยุทธ์ Daytrade ผมจะเลือกใช้ Timeframe 30 นาทีในการเข้าออกออเดอร์ และต้องการเห็นข้อมูลย้อนหลังไป 30 แท่งเทียน จึงเลือกใช้ SMA(30) จำนวน 2 เส้น

แต่โดยปกติ ค่า SMA จะถูกใช้กับราคาปิด แต่สำหรับการ Daytrade ผมศึกษามาจากเทรดเดอร์ต่างประเทศ รวมถึงเทรดเดอร์ในไทย ต่างให้ความเห็นตรงกันว่า การจะเปิดปิดออเดอร์รายวัน เราสนใจเพียงแค่ราคาสูงสุด และราคาต่ำสุด ก็เพียงพอแล้ว

ดังนั้นค่า SMA ผมจึงใช้จำนวน 2 เส้น โดยเส้นแรก(เส้นสีขาว ด้านบน) จะใช้กับราคาสูง (High Price) และอีกเส้น(เส้นสีขาว ด้านล่าง) ใช้กับราคาต่ำ(Close Price)

MACD

อันนี้ผมใช้ค่ามาตรฐาน คือ Fast=12 Slow=26 MA=9 โดยมีวัตถุประสงค์การใช้งาน 2 ข้อด้วยกัน ได้แก่

ข้อแรก ใช้เพื่อหาแรงส่งของราคา(Momentum)  โดยขาขึ้น ผมจะสังเกตว่ายังคงมีแรงซื้ออย่างต่อเนื่องหรือเปล่า ดูจาก MACD ต้องมีค่ามากกว่าศูนย์ หรือดูจากการที่ค่า MACD มีแนวโน้มสูงสุดอย่างมีนัยยะก็ได้เช่นกัน ทำนองเดียวกันกับขาลง ก็จะสังเกตแรงขายอย่างต่อเนื่องจากค่า MACD ต้องน้อยกว่าศูนย์ หรือดูจาก MACD ที่มีแนวโน้มลดลงเรื่อยๆ ก็ได้

ข้อสอง ใช้เพื่อหาจุด Divergence กับราคา ซึ่งจริงๆ มันต้องเป็นหน้าที่ของ Indicator ประเภทการแกว่ง ที่ปกติจะใช้ RSI ในการหา แต่ปกติแล้วผมไม่ค่อยอยากใส่ Indicator เยอะ จึงทำากรเลือกใส่แค่ MACD แล้วเอามาทำหน้าที่คล้ายๆ กันก็พอได้อยู่นะ

วิธีการเข้าเทรด และ วิธีการออก

คราวนี้มาดูแนวทางการเข้าเทรด และการจบการเทรดในแต่ละออเดอร์กันบ้าง ซึ่งคุณอาจต้องย้อนดูแต่ละรูปไปมากันอีกซักรอบสองรอบ แต่ผมจะค่อยๆ อธิบายให้คุณเห็นเป็นขั้นเป็นตอนกันก่อน เพื่อให้เข้าใจว่า ก่อนจะยิงออเดอร์ซักทีนึง ผมทำอะไรตอนอยู่หน้างานบ้าง

ขั้นที่ 1 ดูโครงสร้างของตลาดใน Timeframe ใหญ่ก่อน

จะเทรดตามเทรน ก็ต้องรู้ก่อนสิ ว่าตอนนี้เป็นเทรนด้านไหน เป็น Up Trend หรือเป็น Down Trend หรือแท้จริงแล้วตอนนี้กำลังเป็น Sideway กันแน่ การดูโครงสร้างของตลาด(Market Structure) เป็นจะช่วยให้เราเทรดได้ง่ายขึ้น

กฏก็ง่ายๆ ไม่มีอะไรซับซ้อน ถ้าคุณเห็นโครงสร้าง ว่าตอนนี้เป็น Up Trend ทุกครั้งที่ราคาย่อตัวลงมา ก็หาจังหวะ Buy ได้เลย จะเรียกเหตุการณ์แบบนี้ว่า Bias Buy

ทำนองเดียวกัน เมื่อเห็นโครงสร้างว่าเป็น Down Trend ก็ให้คุณเล็ง Sell ทุกครั้งที่ราคามันมีการเด้งขึ้นมา เรียกเหตุการณ์นี้ว่า Bias Sell

และหากคุณเห็นว่า ตลาดเป็นแบบ Sideway หากคุณเป็นมือใหม่ ผมแนะนำว่า “อย่าพึ่งเทรด” ให้นั่งเฉยๆ ไปเปิด Youtube หรือดูหนัง หรือไปหาอะไรทำก่อน แล้วค่อยกลับมาอีกที เมื่อตลาดเคลื่อนตัวเป็น Trend

เพราะตลาด Sideway มันเป็นสถานการณ์ที่คุณดูกราฟไม่ออก จะขึ้นก็ไม่ขึ้น จะลงก็ไม่ลง เห็นราคาเตรียมทะลุขึ้นก็ตาม Buy ขึ้นไป สุดท้ายโดนราคาหลอก ก็จัด Sell ตามลงมา พอถึงแนวรับราคาก็เด้งขึ้นไปหมด ทำให้คุณเทรดผิดแบบซ้ำซ้อน มันจะทำให้จิตใจของคุณว้าวุ่น และอยากเอาคืน สุดท้าย จะส่งผลให้คุณเทรดแบบคนไร้สติ เป็นเหตุให้คุณต้องสูญเงินไปเรื่อยๆ จนหมดตัวในที่สุด

เอาล่ะ … เมื่อคุณเข้าใจแล้ว ว่าควรเทรดเฉพาะตลาดเป็น Trend เท่านั้น และสัญญากับผมว่าตอนตลาดเป็น Sideway คุณจะอยู่เฉยๆ

คำถามต่อมาคือ … แล้วจะดูรู้ได้ไง ว่าตอนนี้ตลาดมีแนวโน้มเป็นยังไง?

ผมอธิบายหลักการดูเอาไว้ในรูปนี้แล้ว

ถ้าคุณไปเรียนการเทรดมา ไม่ว่าจะสำนักไหนก็สอนเหมือนกันหมด การดูแนวโน้ม ต้องสังเกตราคาสูง(High Price) และราคาต่ำ(Low Price) โดยที่

Up Trend คือการที่ High ยกตัวขึ้น (High ปัจจุบันสูงมากกว่า High ก่อนหน้า) และ Low ยกตัวขึ้น (Low ปัจจุบันสูงมากกว่า Low ก่อนหน้า)

หากคุณดูในรูป จะเห็นว่าผมใช้ลูกศรสีฟ้า เพื่อแสดงให้เห็นการยกตัวขึ้นของ High และ Low อย่างชัดเจน

ทีนี้ ถ้าอยากรู้ว่ามันเป็น Up Trend ที่แข็งแรงรึปล่าว ก็ให้มองที่ High ยกตัว และ Low ยกตัวอย่างขึ้นต่อเนื่องไปเรื่อยๆ แบบนี้ก็ได้ แต่ในทางปฏิบัติสำหรับการ Daytrade ผมสังเกตแค่ จุด High 2 จุดล่าสุด และ Low 2 จุดล่าสุด เพื่อกำหนดหน้า Bias แค่นั้นเอง

และเสริมให้อีกหน่อย ว่าผมหา Bias จากกรอบเวลา Day และ H4 คู่กัน ถ้ามันเป็น Up Trend ทั้งคู่ ก็ชัดเจนแล้ว ว่าถ้าราคาย่อตัวลงมา ผมจะเทรดยังไง (Buy ไง)

ทีนี้มาถึงเส้นประสีแดงกันบ้าง สงสัยใช่มั้ยล่ะ ว่ามันเอาไว้ทำอะไร?

อย่างที่รู้กันดี ว่าการหาโครงสร้างของตลาด แค่เราหาจุด High และ Low ได้ ทุกอย่างมันก็จบแล้ว แต่หารู้ไม่ว่ามันคือปัญหาโลกแตกที่หลายๆ คนไม่เคยเอะใจกันมาก่อน นั่นคือ

“High ที่ฉันกำลังดูอยู่ … นั่นใช่ High ที่เธอกำลังดูอยู่ ใช่หรือไม่?”

หรือ

“Low ที่ฉันเห็น ใช่อันเดียวกับ Low ที่เธอเห็นใช่หรือไม่?”

ในตลาดจริง กราฟมันไม่ได้เป็นทรงสวยงามให้เรามองออกง่ายๆ หรอก แต่มันกลับหยึกหยักหงิกงอด้วยรูปทรงเหนือจินตนาการ จุดที่ดูเหมือนจะเป็น High ก็ดันมีอันที่ใกล้เคียงกันมาให้ไขว้เขว จุดที่คนอื่นดูว่าเป็น Low แต่สำหรับชั้น ดันรู้สึกว่านี่ยังไม่ใช่ แล้วเราจะเอาอะไรมาเป็นตัวตัดสินกันดีล่ะ

ปัญหาเหล่านี้จะหมดไป หากคุณเสริมเส้นอ้างอิงเข้ามาในกราฟซักเส้น ในรูปตัวอย่างด้านบน ผมใช้เส้น Moving Average นี่แหละ

โดยแนวทางในการใช้งานดังนี้

การหาจุด High ในแต่ละรอบ ให้สังเกตจากการที่ราคาพุ่งขึ้น ทะลุเส้น MA ขึ้นไป แล้ววกตัวกลับมาที่เส้น MA เดิม ในรอบการขึ้นและลงนี้ ให้ระบุจุดสูงสุด ณ ช่วงเวลานั้นว่าเป็นจุด High ได้เลย

ทำนองเดียวกัน การหาจุด Low ในแต่ละรอบ ให้สังเกตจากการที่ราคาร่วงทะลุเส้น MA ลงไป แล้ววกกลับมาทะลุเส้น MA ขึ้นมาอีกที ให้ระบุจุดต่ำสุด ณ ช่วงเวลานั้นว่าเป็นจุด Low

เพียงเท่านี้ เราก็สามารถหาจุด High และ Low ที่เหมือนกันกับคนอื่นได้แล้ว และเมื่อหาจุด High และ Low ได้ นั่นหมายความว่า เราก็สามารถหาโครงสร้างของราคา เพื่อไปหาหน้า Bias ได้แล้วนั่นเอง

เมื่อได้หน้า Bias แล้ว … ทีนี้คุณก็จะรู้ซักที ว่าเดี๋ยววันนี้ เราจะดัก Buy หรือดัก Sell ดี

ขั้นที่ 2 ย่อมายัง Timeframe ที่เราจะทำการเทรด

โดยส่วนตัว หลังจากดู Structure ใน Day และ H4 เสร็จแล้ว ผมมักจะย่อเข้ามาเพื่อเล็งหาจุดเทรดใน M30 หรือไม่ก็ H1 โดยจะไม่ค่อยเทรดใน Timeframe ที่ต่ำกว่านี้ เพราะคุณคงไม่อยากจะมานั่งเฝ้ากราฟมันทั้งวี่ทั้งวัน ให้มันกัดกินเวลาชีวิตของคุณหรอก ใช่มั้ยล่ะ ดังนั้น M30 ผมว่ามันกำลังพอดีสำหรับตัวผมเลย

ขั้นที่ 3 เงื่อนไขในการยิงออเดอร์

กรณีการ Buy

กรณีที่คุณดูมาแล้ว ว่าเป็น Bias Buy สิ่งที่คุณควรทำในการหาจังหวะ Buy เมื่อราคาปัจจุบันอยู่เหนือเส้น MA ทั้งสองเส้น และ ราคาปิด(Close Price) อยู่เหนือเส้น MA ทั้ง 2 เช่นเดียวกัน เขียนได้เป็นข้อความเชิงตรรกะได้ดังนี้

เงื่อนไขที่ 1 : Close Price > MA1 > MA2

สิ่งที่เราพึงกระทำ คือการเฝ้ารอจนกว่าราคามันจะปิดแท่ง เหนือเส้น MA ทั้งสองเท่านั้น และควรแอบไปสังเกตพฤติกรรมของราคากันซักหน่อย ว่าตอนนี้มันยังมีแรงซื้อขึ้นมาอย่างต่อเนื่องหรือเปล่า หากมีแรงซื้อขึ้นมาจริงๆ คุณก็จะเข้าซื้อด้วยความมั่นใจมากยิ่งขึ้น ว่ากำลังเข้าซื้อตามคนหมู่มากแล้วจริงๆ ดังเงื่อนไขดังนี้

เงื่อนไขที่ 2 : MACD > 0 หรือ MACD > Signal หรือ MACD1 > MACD2

เมื่อ MACD1 คือ MACD ของแท่งก่อนหน้า 1 แท่ง และ MACD2 คือ MACD ของแท่งเทียนก่อนหน้า 2 แท่ง

ข้อสังเกต

สำหรับตัวผมเอง เมื่อมันเข้าเงื่อนไขทั้ง 2 เรียบร้อยแล้ว ผมจะยังไม่เข้าออเดอร์ทันทีนะ แต่จะแอบไปขยายหน้าจอดูหน้างานกันอีกที ว่าตำแหน่งที่เรากำลังเตรียมจะเปิดออเดอร์ Buy ตรงนี้ มันไปตรงกับแนว Demand Supply สำคัญตรงไหนรึปล่าว หรืออาจไปตีเส้น MACD เพื่อดูจังหวะอะไรอีกซักเล็กน้อย เพื่อหาความเป็นไปได้เพิ่มเติมในการเปิดออเดอร์เพิ่มเติมด้วย ถ้าทุกอย่างลงตัวแล้ว ถึงจะเปิดออเดอร์นั่นเอง

การตั้งจุด Stop Loss ก็ไม่มีอะไรซับซ้อน ผมตั้ง SL เอาไว้ที่จุด Low แล้วก็วัดระยะดูซักหน่อย ว่าตั้งแต่จุดที่เราเปิดออเดอร์ไปจนถึง SL ถ้าราคาไปโดนจุดนี้ เราจะเสียเงินเท่าไหร่ เสียกี่ Pips จากนั้นก็เอาระยะตรงนี้ไปตั้งจุด Take Profit ที่ด้านบนของราคาปัจจุบัน

เช่น ระยะ SL ที่ Low สมมติเราวัดได้ 25 pip งั้นก็ให้เราตั้ง TP ที่ 25 pip ด้วยเช่นกัน ลักษณะนี้เราจะได้ Risk Reward Ratio(RRR) เท่ากับ 1:1 นั่นเอง

แต่โดยปกติแล้ว การเทรดตามแนวโน้ม เราอาจสามารถดึง RR ได้สูงถึง 1:3 หรือ 1:5 ได้เลยทีเดียว (แต่ต้องไปทำการบ้านมาก่อนนะ) เดี๋ยวเรื่องนี้ผมจะไปขยายความเพิ่มเติมในภายหลังอีกที

กรณีการ Sell

จริงๆ อันนี้ง่ายมาก เพราะมันจะตรงกันข้ามกับกรณี Buy เลย เมื่อคุณดูแล้วว่าหน้า Bias เป็น Sell ก็ให้เล็ง Sell ทันที เมื่อคุณมองเห็นราคาปิดร่วงลงไปอยู่ต่ำกว่า MA ทั้ง 2 เส้น ซึ่งเขียนเป็นสมการเชิงตรรกะได้ดังนี้

เงื่อนไขที่ 1 : Close Price < MA2 < MA1

แน่นอนว่าโดยปกติแล้วเราจะไม่พิจารณาจากการที่ราคาไป Cross กับเส้น MA เพียงแค่อย่างเดียว เพราะเราต้องดูด้วยว่ามันมีแรงขายส่งต่อมาด้วยหรือเปล่า โดยดูจาก MACD ได้ดังเงื่อนไขนี้

เงื่อนไขที่ 2 : MACD < 0 หรือ MACD < Signal หรือ MACD1 < MACD2

การกำหนดจุด SL จะวางไว้ที่ตำแหน่งราคา High และจุด TP จะกำหนดให้มี RR เป็น 1:1 หรือมากกว่านั้นก็ได้ ขึ้นอยู่กับการบ้านการเทรดที่คุณทำการ Backtest มาว่าช่วงนี้ควรใช้ค่าเท่าไหร่จึงจะเหมาะสมกับการเทรดระยะสั้น หรือระยะกลาง

และนี่ก็คือหน้าเทรดทั้งหมดที่ผมใช้ในการสอบจนผ่านทั้ง 2-3 กองทุนที่ผ่านมา หากจุดไหนที่ทำการบ้านมาดี ก็สามารถดึง RR ได้สูงถึง 1:5 ก็มี(แต่ไม่บ่อยมาก) แต่หากต้องการเก็บระยะสั้น(Scalping Trading) ก็จะเก็บเพียงแค่ 1:1 เท่านั้น

ข้อสังเกต

Trading Setup นี้ ผมใช้ในการสอบ โดยเน้นทองคำ กับ น้ำมัน เป็นหลัก โดยภายใน 1-2 วันอย่างน้อยๆ ก็สามารถสร้างกระแสเงินสดได้สบายๆ โอกาสผิดค่อนข้างน้อย เพราะช่วงนี้ตลาดเคลื่อนตัวแบบเ็น Trend มา 4-5 เดือนแล้ว

ต้องบอกว่าโดยปกติแล้ว หากอยู่ในแนวโน้มที่ถูกต้อง ผมมักจะเก็บกำไรที่เฉลี่ย 1:1.5 ไปจนถึง 1:3 เพราะผมทำการบ้านมาแล้วว่าช่วงนี้ระยะระมาณนี้มันสามารถทำได้นั่นเอง

ความรู้เสริม : Fibonacci Retracement & Extension

เนื่องจากวันก่อน ได้มีโอกาสโทรศัพท์ไปพูดคุยแลกเปลี่ยนกับเพื่อนเทรดเดอร์ที่อยู่ในกลุ่มท่านหนึ่ง ซึ่งพี่เค้าไปฟังผมอธิบายเรื่องหน้าเทรดใน Live เลยเกิดคำถามสงสัยว่า

“จะรู้ได้ยังไง ว่าจุดที่เรากำลังจะยิงออเดอร์ เป็นจุดที่เราได้เปรียบหรือเปล่า”

ผมเลยถือโอกาสมาเสริมความรู้ในเรื่องของการ “ซื้อถูก ขายแพง” ตรงนี้เลยละกัน เพราะมันเป็นการหารายได้หลักของอาชีพ “เทรดเดอร์” เลยก็ว่าได้

จุดที่ได้เปรียบ คือ จุดที่เรามั่นใจว่า หากเข้าไปครอบครองสินทรัพย์ ณ เวลานี้ จะทำให้เรามีโอกาสได้มากกว่าเสีย มีโอกาสชนะมากกว่าแพ้ มีโอกาสได้ของราคาถูกกว่าหากราคามีการเติบโตในอนาคต ผมจะอธิบายเพิ่มเติมด้วยรูปนี้เป็นหลักนะ

ในรูป เส้นสีขาวคือตัวแทนของ “ราคาสินทรัพย์” ที่เราสนใจ ราคาจะอยู่ในกรอบ 0% จนถึง 100% ตอนที่สินทรัพย์นี้เปิดตัว ราคาจะมาอยู่บริเวณ 100%

เมื่อเวลาผ่านไป สินทรัพย์มีมูลค่าแกว่งขึ้นลงไปตามความต้องการซื้อและต้องการขายในตลาดทุน ช่วงไหนที่มีคนต้องการมาก แต่สินทรัพย์นี้กลับมีปริมาณที่ไม่เพียงพอ ราคาของสินทรัพย์ก็จะปรับตัวขึ้นมากกว่าราคาเปิดตัว (สูงกว่า 100%)

แต่เมื่อเวลาผ่านไป คนเริ่มมีความต้องการน้อยลง ราคาก็จะกลับมาอยู่ในราคาปกติ หรือต่ำกว่าราคาปกติได้(ต่ำกว่า 100%)

ในฐานะเทรดเดอร์ ผู้ทำกำไรจากการเข้าซื้อสินทรัพย์ที่มีราคาถูก แล้วนำไปขายเมื่อมีราคาแพง นั่นหมายความว่า หากสินทรัพย์มีราคาปกติอยู่ที่ 100% หากราคาต่ำกว่านั้นได้ เราก็เรียกว่ามันเป็น “สินทรัพย์ราคาถูก” ได้แล้วล่ะ (ง่ายๆ แบบนี้เลย)

ทีนี้ความถูกความแพงก็ขึ้นอยู่กับตัวบุคคลแล้วล่ะ สำหรับตัวผมเอง หากมีโอกาสเป็นไปได้ ที่จะได้เข้าซื้อเมื่อราคาสินทรัพย์ลงมาอยู่ในช่วง 0-50% ได้ นับว่าเป็นโอกาสที่ดีมาก ผมจะเรียกโซนนี้ว่า “โซนของราคาถูก” (ในรูปด้านบน จะเห็นว่าผม Highlight เป็นโซนสีเขียวๆ เอาไว้)

การที่ราคาย่อตัวลงมาจากโซนราคา 100% แบบนี้ เราสามารถใช้เครื่องมือชื่อว่า Fibonacci Retracement มาช่วยในการหาระดับการย่อตัวได้ โดยการลากเส้น Fibo จากราคา High มายังราคา Low ทำให้เราสามารถหาจุดที่เป็นการย่อตัวของราคาได้นั่นเอง

ทำนองเดียวกัน สำหรับโซนราคาที่เรียกว่า “ของแพง” ก็คือบริเวณที่ราคามีมูลค่าสูงกว่า 100% ขึ้นไป หากคุณเข้าไปถือครองสินทรัพย์ที่ราคาระดับนั้น พึงระลึกไว้เสมอว่าคุณกำลังซื้อ “ของแพง” และมันมีโอกาสที่ราคาจะวกตัวกลับลงมาในโซนของราคาถูกอีกเมื่อไหร่ก็ได้

ดังนั้น ก่อนทำการเข้าซื้อเพื่อถือครองสินทรัพย์ใด ในฐานะเทรดเดอร์ คุณจึงควรระลึกอยู่ในใจเสมอ ว่า ณ เวลานี้ คุณกำลังจะเข้าไปซื้อ ณ จุดที่คุณได้เปรียบอยู่หรือเปล่า คุณกำลังจะเข้าไปไล่ซื้อสินทรัพย์ ในตอนนี้ราคามันแพงขึ้นเรื่อยๆ อยู่ใช่หรือไม่ คุณต้องมีสติและรู้ตัวอยู่ตลอดเวลา ว่าเทรดเดอร์ คือผู้ที่ซื้อถูกแล้วไปขายแพง ดังนั้นถ้าคุณซื้อแพงไปตั้งแต่แรก แล้วคุณจะได้กำไรมาจากอะไรล่ะ จริงไหม?

ความรู้เสริม : Risk Reward Ratio (RRR)

อีกเรื่องสำคัญที่เทรดเดอร์ต้องทราบ นั่นคือเรื่องการ Risk Reward Ratio

Risk แปลว่าความเสี่ยง ในบริบทของการลงทุน/เก็งกำไร แปลว่า การขาดทุน สิ่งที่ทำให้คุณมีโอกาสทำให้เกิดการสูญเสีย

Reward แปลว่า รางวัล ในบริบทของการลงทุน/เก็งกำไร แปลว่า กำไร ผลตอบแทน รางวัลที่ได้จากโอกาสในการเข้าถือครองสินทรัพย์

Ratio แปลว่า สัดส่วน ในบริบทนี้ คือการนำค่ามาหารกัน

ดังนั้น RRR จึงมีความหมายว่า “สัดส่วนของกำไรต่อความเสี่ยง” คือการนำเอา Reward เป็นตัวตั้ง หารด้วย Risk นั่นเอง ค่าที่ได้จะออกมาเป็นตัวเลข โดยที่ RRR ที่มีค่าเป็นบวก หมายถึงอัตราส่วนที่ผลตอบแทนมีค่ามากกว่าความเสี่ยง ในขณะที่ RRR ที่มีค่าเป็นลบ หมายถึงอัตราส่วนที่ผลตอบแทนมีค่าน้อยกว่าความเสี่ยง

RRR ที่ดี ควรอยู่ในในสัดส่วน 1:1 ขึ้นไป (Reward 1 ส่วน และ Risk 1 ส่วน) โดยปกติแล้วระบบเทรดที่เป็นแบบ 1:1 จะเป็นการเก็งกำไรในลักษณะซื้อขายรายวัน(Daytrade) โดยการพยายามเปิด/ปิดออเดอร์ภายในวันนั้นๆ ให้ได้

ดูสัดส่วนจากรูปนี้นะครับ สีเขียวคือตัวแทนของด้าน Reward ส่วนสีแดงคือตัวแทนของ Risk โดยกราฟซ้ายมือสุดแสดงให้คุณเห็นภาพชัดเจนว่าการเทรดแบบ Daytrade ที่ความเสี่ยง 1 ส่วน ต่อกำไร 1 ส่วน เป็นลักษณะแบบนี้ (1:1)

เอาล่ะ ทีนี้คุณค่อยๆ ดูรูป โดยไล่จากซ้ายไปขวานะ ถัดจาก RRR แบบ 1:1 … ในแท่งถัดไปคือ RRR ที่มีสัดส่วนแบบ 1.3:1 หมายความว่าเป็นการเทรดที่มีความเสี่ยง 1 ส่วน ต่อกำไร 1.3 ส่วนนั่นเอง

แท่งต่อไปคือ RRR 1.5:1 คืออัตราส่วนของ Risk 1 ส่วน ต่อ Reward 1.5 ส่วน

จนถึงแท่ง RRR 3:1 คืออัตราส่วนของ Risk 1 ส่วน ต่อ Reward 3 ส่วน นั่นหมายความว่า หากคุณตัดสินใจเก็งกำไรในออเดอร์นี้ โดยรับความเสี่ยงที่จะขาดทุนได้ที่ 500 บาท หากการเก็งกำไรครั้งนี้คุณชนะ จะทำให้ได้ผลตอบแทน 1,500 บาท

ดังนั้นการเก็งกำไรแบบในกราฟ 6 แท่งแบบนี้ คือตัวแทนของรูปแบบที่ถูกต้อง เมื่อคุณจะเริ่มเปิดออเดอร์ซักครั้ง พึงตระหนักเสมอว่า จุดที่คุณกำลังอยากจะเข้าออเดอร์ มันคุ้มที่คุณจะเสี่ยงไหม หากครั้งนี้คุณได้กำไร จะมีโอกาสเป็นไปได้ไหมที่จะสร้างผลตอบแทนได้มากกว่า 1 เท่าตัวของความเสี่ยง

สิ่งสำคัญที่ผมพยายามจะสื่อ ณ เวลานี้ คือการตั้งจุดการขาดทุน(Stop Loss: SL) ให้เรียบร้อยก่อนทำการเปิดออเดอร์ทุกครั้ง เมื่อมี SL แล้ว เดี๋ยวจุดทำกำไร(Take Profit: TP) ก็จะตามมาเอง โดยคำนวณง่ายๆ จากกราฟที่ผมแสดงให้คุณเห็นดังรูปด้านบนนี้

เอาล่ะ ทีนี้มาดูตัวอย่างที่ไม่ควรทำในการยิงออเดอร์กันบ้าง

อันนี้สำคัญมากเลยนะ เป็นสิ่งที่ผู้ที่กำลังเข้ามาในตลาดใหม่ๆ พลาดกันเยอะ และบางคนก็ทำใจยอมรับความจริงนี้ไม่ได้ หรือคนที่อยู่ในตลาดมาซักพักแล้วก็ยังทำพลาด นั่นก็คือ ในการยิงออเดอร์แต่ละครั้งของพวกเค้าเป็นแบบนี้

เหตุการณ์นี้มันเกิดขึ้นได้อย่างไร? เอาล่ะ เดี๋ยวผมจะเล่าเรื่องเพื่อนผมที่พึ่งเข้าตลาดมาเมื่อสัปดาห์ก่อนให้ฟัง

เพื่อนผมคนนี้ เค้าพึ่งเติมเงินเข้ามาเทรดทองคำ เพราะเป็นสินทรัพย์ที่เค้ารู้จัก ด้วยความที่ขี้เกียจดูกราฟ จึงเปิดแอพฯ ขึ้นมา แล้วจิ้มออเดอร์ Buy ขึ้นไปแบบมั่วๆ เพราะอยากรีบมีออเดอร์ แต่ราคากลับร่วงทั้งวัน ทำให้เค้าเกิดความกลัว หน้าจอเปลี่ยนเป็นสีแดง ตัวเลขติดลบค่อยๆ เยอะขึ้นเรื่อยๆ (ประมาณ -$20) เค้าเกิดความกลัว ความวิตก และความเครียด

เมื่อเวลาผ่านไปไม่นาน กราฟราคาทองคำเป็นใจ พลิกตัวกลับขึ้นมาอีกครั้ง ทำให้หน้าจอของเค้าเปลี่ยนเป็นสีฟ้า เค้าเห็นว่าราคากลับตัวมาแล้ว และได้กำไรจากการเทรด $10 จึงไม่รอช้า รีบปิดออเดอร์ทันที

เรามาวิเคราะห์ออเดอร์ของเค้ากัน

กรณีนี้ สิ่งที่เพื่อนผมทำ ก็คือการที่เค้าเข้าออเดอร์ โดยมี Risk อยู่ที่ $20 และมีอัตรา Reward อยู่ที่ $10

ในการเก็งกำไร หากคุณเทรดในลักษณะที่มีอัตรา Risk มากกว่า Reward แบบนี้ไปเรื่อยๆ หากแพ้ติดต่อกันไปเรื่อยๆ คุณจะมีแพ้ในระยะยาวได้

คิดภาพดูสิ การเทรด มีทั้งแพ้ และชนะ หากคุณกำหนดให้ Risk มากกว่า Reward (RRR<1) เช่น ทุกครั้งที่เทรดชนะ คุณจะได้ $10 แต่ทุกครั้งที่เทรดแพ้ คุณจะเสีย $20 ในระยะยาว หากเทรดทั้งหมด 50 ครั้ง แพ้ไป 25 ครั้ง ชนะไป 25 ครั้ง ตอนที่แพ้คุณจะเสียเงินทั้งหมด -$500 แต่ตอนที่ชนะจะได้กลับมาเพียง +$250 แค่นั้นเอง หากคุณยังคงเทรดแบบนี้ไปเรื่อยๆ ในระยะยาว คุณจึงเสียมากกว่าได้นั่นเอง

ทำนองเดียวกัน หากคุณเทรดโดยที่มี Risk น้อยกว่า Reward เช่น 3:1 ทุกครั้งที่คุณเทรดแพ้จะเสีย $10 แต่หากเทรดชนะ คุณจะได้ $30 สมมติว่าเทรดทั้งหมด 50 ครั้ง โดยแพ้ติดต่อกัน 35 ครั้ง จะเสียเงิน -$350 แต่คุณเทรดชนะ 15 ครั้ง คุณจะได้ผลตอบแทน +$450 เลยทีเดียว เมื่อรวมกันแล้ว แม้ว่าคุณจะเทรดชนะน้อย แต่รวมกันแล้วคุณจะได้ +$450 – $350 เท่ากับ +$100 ที่เป็นกำไรสุทธินั่นเอง

ดังนั้น สิ่งที่ผมพยายามจะบอกคุณ ก็คือ ควรเทรดให้เป็นมืออาชีพ ควรกำหนดจุดขาดทุนให้เรียบร้อยตั้งแต่แรก ผมเห็นเทรดเดอร์หลายคนไม่กำหนดจุด Stop Loss ปล่อยให้ออเดอร์โดนลากไปเรื่อยๆ ทนถือการขาดทุนหลักร้อย หลักพัน หลักหมื่น จนไปถึงหลักแสน แต่เวลาได้กำไรทีนึงกลับเก็บกำไรเพียงแค่หลักสิบ … แบบนี้ในระยะยาวยังไงก็ขาดทุน

และสิ่งที่ผมกังวลคือ ยังคงพบเจอกับเทรดเดอร์ที่เทรดลักษณะนี้อยู่เยอะ เป็นการเทรดแบบ RRR < 1 อันเกิดจากการหาจุดเข้าออเดอร์แบบมั่วๆ หรือไปตามคนอื่นมา แต่หาจุดออกไม่เจอ และมักจะมาสอบถามกันในกลุ่มต่างๆ ว่า 

“ออเดอร์ติดดอยแล้ว คัทเลยดีไหมครับ หรือว่าถือต่อดี?”

นี่แหละ คือคำถามที่น่ากลัว ที่ผมพบเจอมาตลอด 10 ปีที่อยู่ในตลาด ดังนั้นหากวันนี้คุณอ่านบทความนี้ของผมแล้ว ผมก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่าเหตุการณ์นี้จะไม่เกิดกับคุณนะ

ตัวช่วยที่ผมพัฒนาขึ้นมา เพื่อให้เทรดง่ายขึ้น

นี่แหละคือระบบเทรดทั้งหมดที่ผมใช้มาโดยตลอด จนทำให้สามารถเทรดและสอบผ่านกองทุนต่างประเทศมาได้ และผมหวังว่าคุณจะกลับไปอ่านเนื้อหาเหล่านี้ทบทวนพร้อมทำความเข้าใจดูอีกครั้ง เพื่อให้สามารถนำไปปรับใช้ให้เข้ากับสไตล์การเทรดของตัวคุณเองได้

ผมคิดว่า Key สำคัญสำหรับมือใหม่ คือการมองโครงสร้างของตลาด(Market Structure) ที่โดยปกติเราจะต้องมองกันในหลายๆ Timeframe ดังนั้นในฐานะที่ผมเป็นทั้ง “เทรดเดอร์(Trader)” และเป็น “นักพัฒนาระบบ(Developer)” จึงได้สร้างโปรแกรมอำนวยความสะดวกในการมองโครงสร้างของตลาดในทุก Timeframe มาให้คุณ มันมีหน้าตาแบบนี้

มันเป็น Template ที่ทำให้คุณเทรดใน PC ได้ง่ายยิ่งขึ้น (เพราะปกติส่วนตัวผมเองถนัดเทรดใน PC มากกว่า) ทำให้คุณเห็นข้อมูลตลาดแบบภาพรวมได้ภายใน 1-5 วินาที โดยมันจะบอกราคา, บอก Spread, บอกว่า % ว่าวันนี้ราคาแกว่งไปเท่าไหร่, บอกความผันผวน ว่าวันนี้ราคาขึ้นลงด้วยแรงกี่จุด, บอกค่าเฉลี่ย 60 วัน, และบอกโครงสร้างของตลาดใ่ห้คุณเห็นในหลายกรอบเวลา

สัญลักษณ์ ต่างๆ จะอธิบายได้ดังนี้

U+ หมายถึง ตลาดแบบ Sideway Up เป็นโครงสร้างที่ High มีการเคลื่อนตัวขึ้น แต่ในบางครั้ง Low ก็มีการแกว่งตัวขึ้นลง ไม่ชัดเจน (หากเจอแบบนี้  หากยึดตามหน้าเทรดเรา เราก็ไม่ควรเทรด)

U+++ หมายถึง ตลาดแบบ Up Trend มีโครงสร้างที่ High ยกตัวขึ้น และ Low ก็ยกตัวขึ้นอย่างชัดเจน (โครงสร้างนี้ ตาม Setup ของเรา ก็หาจังหวะ Buy ตามขึ้นไป ตอนราคาย่อลงมาได้เลย)

D+ หมายถึง ตลาดแบบ Sideway Down เป็นโครงสร้างที่ Low มีการเคลื่อนตัวลง แต่ในบางครั้ง High ก็มีการแกว่งตัวขึ้นลง ไม่ชัดเจน (หากเจอแบบนี้  หากยึดตามหน้าเทรดเรา เราก็ไม่ควรเทรด)

D+++ หมายถึง ตลาดแบบ Down Trend มีโครงสร้างที่ High ย่อตัวลง และ Low ก็ย่อตัวลงอย่างชัดเจน (โครงสร้างนี้ ตาม Setup ของเรา ก็หาจังหวะ Sell ตามลงมา ตอนราคาเด้งขึ้นได้เลย)

– หมายถึง สภาพตลาดที่ระบบไม่สามารถระบุได้ (หากเจอแบบนี้  หากยึดตามหน้าเทรดเรา เราก็ไม่ควรเทรด)

ด้วย Template แบบนี้ ทำให้คุณประหยัดเวลาในการเทรดไปได้เยอะมาก ประกอบกับการมีเครื่องหมายต่างๆ และสัญลักษณ์ปรากฏในกราฟได้เหมือนกับหน้าจอของผมเลย ทำให้เรามองเห็นกราฟที่เหมือนกันกับผมและเพื่อนๆ ในกลุ่ม ทำให้ชีวิตการเทรดของคุณไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป

หากคุณสนใจ และอยากได้ Template นี้ไปใช้งาน สามารถดาวน์โหลดได้แบบฟรีๆ ที่ปุ่มด้านล่างนี้ได้เลย (ใช้งานได้เฉพาะโปรแกรม MT4 บนระบบปฏิบัติการ Windows เท่านั้น)

ปล. ผมทำวีดีโอ แนะนำวิธีการติดตั้ง Template ให้คุณแล้วนะครับ สามารถดูเพิ่มเติมได้ในวีดีโอนี้ได้เลย

สรุป

และนี่คือการเทรดและทำกำไรแบบ Daytrade ที่ผมใช้ในการสอบกองทุนต่างประเทศจนผ่าน และเป็นระบบที่ผมตกผลึกมาแล้วว่ามันสามารถทำให้ผมสร้างกระแสเงินสดได้ในระยะยาว หากคุณจะนำไปวิธีนี้ไปปรับใช้ให้เค้ากับตัวเอง แนะนำให้ลองไปฝึกปฏิบัติจากบัญชีเงินปลอม หรือฝึกกับจำนวนเงินน้อยๆ เพื่อทดสอบระบบก่อนได้ครับ โดยให้สังเกตวิธีการยิงออเดอร์ ตั้งจุด SL/TP ให้ชัดเจน ถามใจตัวเองดู ว่าทุกครั้งที่เปิดปิดออเดอร์ คุณรู้สึกดี หรือว่ารู้สึกแย่กับการทำแบบนี้ ทำติดต่อกันให้ครับ 50 ครั้ง หากคำตอบของคุณคือ “รู้สึกดี และชอบระบบนี้” ก็ขอแสดงความยินดีด้วยครับ แสดงว่าคุณได้ระบบเทรดที่ “ถูกจริต” ในแบบของคุณเรียบร้อยแล้ว ทีนี้ก็ใช้ระบบนี้ไปยาวๆ ได้เลย

อ้างอิง
บทความนี้ถูกเผยแพร่ครั้งแรกที่ https://www.thailandfxwarrior.com/forex/day-trade-trading-setup-with-moving-average-in-forex-and-gold-xauusd/

บทความที่คุณอาจสนใจ
3 กลยุทธ์สุดชิล ทำกำไรได้ใน 30 นาที https://www.thailandfxwarrior.com/forex/seminar-gold-oil-forex-in-chiangmai-may-2022/
สัมมนา Forex (ในรอบ 2 ปี) https://www.thailandfxwarrior.com/forex/seminar-forex-trading-broker-tmgm-in-2-years/

# # # # #

ติดต่อเพิ่มเติมได้ที่
🌐 Website: Thailand Fx Warrior
📺 YouTube: Trader Channel